ฟังวิทยุออนไลน์ สวท.เลย//FM 95.25 Mhz

AM 1341 Khz

ประวัติสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเลย
 
 
 
 

  ประวัติสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเลย

                        ปี พ.ศ. ๒๕๑๓  จังหวัดเลย โดย นายสะอาด เหมศรีชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ในขณะนั้นได้มีหนังสือถึงกองประชาสัมพันธ์เขตขอนแก่น (ปัจจุบันคือสำนักประชาสัมพันธ์เขต ๑ ขอนแก่น) เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๓  เพื่อขอรับการสนับสนุนการนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้วยสื่อวิทยุกระจายเสียงในพื้นที่จังหวัดเลย และในเดือนเดียวกันได้มีหนังสือถึงกรมประชาสัมพันธ์แจ้งความประสงค์ขอความอนุเคราะห์ให้กรมประชาสัมพันธ์จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อเสนอข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดเลย  ซึ่งจากการพิจารณาของกรมประชาสัมพันธ์และกองประชาสัมพันธ์เขตขอนแก่น ได้พิจารณาเห็นควรจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยในพื้นที่จังหวัดเลย ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ รัฐบาลได้มอบหมายให้  กรมประชาสัมพันธ์และสำนักงบประมาณดำเนินการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงในพื้นที่จังหวัดเลย     โดยกรมประชาสัมพันธ์มอบหมายให้กองประชาสัมพันธ์เขตขอนแก่น ดำเนินการสำรวจข้อมูลเทคนิค ตลอดจนดำเนินการประสานงานในเรื่องของการก่อสร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยในพื้นที่จังหวัดเลย ซึ่งได้รับอนุญาตจากทางจังหวัดเลยให้ใช้ที่ดินพัสดุ จำนวน ๑๔ ไร่  บริเวณตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย เพื่อก่อสร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเลย

 

เริ่มก่อตั้งกรมประชาสัมพันธ์ 

     

                         เมื่อกรมประชาสัมพันธ์ ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จึงได้ดำเนินการเริ่มก่อสร้างอาคารสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเลย ในวันที่ ๒๗  มกราคม ๒๕๑๖  และก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๑๖ โดยตัวอาคารภายในแบ่งออกเป็นห้องส่งกระจายเสียง ห้องผู้ประกาศข่าว และ ห้องธุรการ เริ่มส่งกระจายเสียงอย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๑๗ ด้วยระบบ เอ เอ็ม  ความถี่ ๑๓๔๑ กิโลเฮิรตซ์ ขนาดกำลังส่ง ๑๐ กิโลวัตต์ ตั้งอยู่บริเวณริมน้ำกุดป่อง เลขที่ 146/21 ถนนเจริญรัฐ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย โดยมีนายบุญเหลือ อินทรวิเชียร ดำรงตำแหน่ง นายสถานีวิทยุฯ (ปัจจุบันคือผู้อำนวยการสถานีวิทยุฯ) คนแรก
                         ต่อมาในปี 2536 กรมประชาสัมพันธ์ ได้รับพิจารณาจัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเลย ในพื้นที่ 7 ไร่ เพื่อส่งกระจายเสียงด้วยระบบ เอฟ เอ็ม  ที่บ้านกำเนิดเพชร  อำเภอเมืองเลย  จังหวัดเลย เริ่มส่งกระจายเสียงอย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๓๗       ในระบบ เอฟ เอ็ม ความถี่ ๙๕.๒๕ เมกะเฮิรตซ์  ขนาดกำลังส่ง ๑ กิโลวัตต์  แต่เพื่อความเหมาะสมในด้านเทคนิคการส่งกระจายเสียง จึงย้ายเครื่องส่งระบบ เอ เอ็ม ความถี่ ๑๓๔๑ กิโลเฮิรตซ์ ไปตั้งที่อาคารสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเลย บ้านกำเนิดเพชร อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย และย้ายเครื่องส่งระบบ เอฟ เอ็ม ความถี่ ๙๕.๒๕ เมกะเฮิรตซ์ จากบ้านกำเนิดเพชร มาตั้งที่สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเลย บริเวณริมน้ำกุดป่อง ถนนเจริญรัฐ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย  จังหวัดเลย
                         เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕  ได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในพื้นที่จังหวัดเลย กระแสน้ำได้ล้นเอ่อเข้าท่วม อาคารสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเลย ที่ตั้งอยู่บริเวณริมน้ำกุดป่อง ถนนเจริญรัฐ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ส่งผลให้เครื่องส่ง อาคารห้องส่ง ได้รับความเสียหายอย่างมาก สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเลย จึงขออนุมัติย้ายเครื่องส่งระบบ เอฟ เอ็ม ความถี่ ๙๕.๒๕ เมกะเฮิรตซ์ ไปติดตั้งที่ภูผาสาด อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย      โดยกรมประชาสัมพันธ์ ได้พิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการย้ายเครื่องส่งไปติดตั้งที่อาคารบนภูผาสาด ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๔๖ ทำให้สวท.เลย ระบบ เอฟ เอ็ม ความถี่ ๙๕.๒๕ เมกะเฮิรตซ์ สามารถส่งกระจายเสียงได้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดเลย รวมถึงบางส่วนของจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย และแขวงไชยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สวท.เลย)
                          ในปี ๒๕๕๐ จังหวัดเลยได้ทำหนังสือขอใช้พื้นที่ของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเลย บางส่วนเพื่อสร้างสวนสาธารณะ                เฉลิมพระเกียรติฯ  สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเลย จึงได้มีหนังสือหารือกับอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งได้มีหนังสือตอบกลับมาเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๐ แจ้งให้สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเลย สนับสนุนการใช้พื้นที่สร้างสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติฯ แก่จังหวัดเลย  สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเลย จึงได้มีหนังสือตอบรับให้จังหวัดใช้ประโยชน์จากพื้นที่ประมาณ ๗ ไร่ จากทั้งหมด ๑๔ ไร่ เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๐ ทำให้ปัจจุบันสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเลย ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย เหลือพื้นที่ในความดูแลรับผิดชอบจำนวน ๗  ไร่
                           ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเลย ได้รับการจัดสรรงบประมาณตามโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการส่งกระจายเสียง ระบบ เอ เอ็ม ความถี่ ๑๓๔๑ กิโลเฮิรตซ์ จำนวน ๑๒ ล้านบาท โดยจัดหาเครื่องส่งใหม่ขนาดกำลังส่ง ๒๕ กิโลวัตต์ เพื่อทดแทนเครื่องส่งเดิมที่ใช้งานมานานกว่า ๔๐ปี    มีการติดตั้งเครื่องส่งใหม่ทดแทนเครื่องส่งเดิม ณ บริเวณอาคารเครื่องส่งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเลย บ้านกำเนิดเพชร ถนนเลย-เชียงคาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย และเริ่มออกอากาศในระบบ เอ เอ็ม ความถี่ ๑๓๔๑ กิโลเฮิรตซ์ ด้วยเครื่องส่งใหม่ ตั้งแต่วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

 

 

 ตรากรมประชาสัมพันธ์

      ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งปรากฎในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 7 เล่มที่ 64 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2490 กำหนดเครื่องหมายราชการ "กรมโฆษณาการ” ให้เป็นรูปพระอินทร์เป่าสังข์เหาะลอยอยู่เหนือเมฆ มีวงกลมล้อมรอบตามวรรณคดีกล่าวไว้ว่า พระอินทร์เป่าสังข์ปลุกพระนารายณ์ให้ตื่นจากบรรทมสินธุ์ในสะดือทะเล เพื่อขึ้นมาปราบเหตุร้ายต่าง ๆ ในโลก อย่างไรก็ดี โดยที่สังข์ ตามลัทธิพราหมณ์ถือว่าเป็นมงคล 3 คือ สังข์ ถือกำเนิดจากพระพรหม ท้องสังข์เคยเป็นที่ซ่อนคัมภีร์พระเวทและตัวสังข์ มีรอยนิ้วพระหัตถ์ ของพระนารายณ์ ในพิธีทางศาสนา พราหมณ์ จึงมีการเป่าสังข์เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย นอกจากนี้ พระในลัทธิชินโตก็ใช้สังข์เป่าในพิธีมงคลพวกชาวเกาะทะเลใต้ เป่าสังข์ บอกสัญญาณระหว่างกันปรากฏว่าได้ยินไปไกลไม่แพ้เป่าเขาควาย เนื่องจากงานประชาสัมพันธ์เป็นการโฆษณาเผยแพร่และอธิบายชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจอย่างกว้างขวางเป็นการสร้างความเข้าใจอันดี โดยมีวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และภาพยนตร์เป็นเครื่องช่วย จึงเปรียบได้กับการเป่าสังข์ของเทวดาในสมัยโบราณเพื่อบอก สัญญาณ และเรียกประชุม นั่นเอง

 

 สีกรมประชาสัมพันธ์

ใช้สีม่วง ซึ่งถือกันว่าเป็นสีของงานสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์

 

Link banner

 

Copy code นี้ไปลงในเว็บไซต์ของท่าน

 <a href="http://www.prd.go.th" target="_blank"><img src="http://www.prd.go.th/images/prd_banner01.jpg" border="0" alt="กรมประชาสัมพันธ์"

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar